*-*

ข่าวสาร

บอก WEB นี้ให้เพื่อน :

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้

1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป


2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น CMOS checksum Error CMOS BATTERY State LowHDD Controller FailureDiskplay switch not proper
ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น


3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้


4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา


5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณจะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ

แผนผังกระบวนการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์




หมดปัญญาซ่อมเองทำอย่างไร ? ปัญหาหรืออาการเสียหลายอย่างจำเป็นจะต้องใช้ทักษะในการตรวจซ่อมสูง ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเป็นพิเศษ แต่ถ้าคุณไม่มีก็อย่าเสี่ยงซ่อมเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น ทางที่ดีส่งซ่อมดีกว่า เช่น งานบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค เปลี่ยนแผ่นวงจรบนฮาร์ดดิสก์ ซ่อมเมนบอร์ด หลดภาพของจอมอนิเตอร์เสื่อม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้แนะนำให้ส่งซ่อมดีกว่า หรือถ้าอุปกรณ์ ยังอยู่ในประกันก็ส่งเคลมดีที่สุด

ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องซ่อมคอมฯ

เครื่องเสียบู๊ตไม่ขึ้น อุปกรณ์เจ๊ง ฮาร์ดดิสก์พัง ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ดูจะเรื่องปกติ ที่ผู้ใช้คอมฯ ทุกท่านจะต้องเจออย่างแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถ้าจะให้ทุกคนลุกขึ้นมาแก้ปัญหาหรือซ่อมเองก็เป็นเรื่องยาก เพราะถ้าเป็นอาการเสียทางด้านฮาร์ดแวร์ทุกคนก็มักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แล้วก็ส่ายหัวเมื่อเจอปัญหาเหล่านี้ เพราะกลัวว่าถ้าซ่อมเองแล้วเครื่องจะพัง สู้ยกเครื่องไปให้ร้านซ่อมดีกว่า เพื่อความมั่นใจ
ทุกครั้งเมื่อยกเครื่องไปที่ร้าน ก็ต้องเสียค่าซ่อมอย่างน้อย ๆ ก็ 500 บาท เป็นราคามาตรฐานที่ค่อนข้างสุง ยิ่งถ้าช่างแค่เปิดฝาเครื่องแล้วขยับสายเล็กน้อย เครื่องก็หายเป็นปกติ ยิ่งรู้สึกไม่อยากจะจ่ายค่าซ่อมเลย แต่ถ้ามีอุปกรณ์พังก็ยังดี แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าราคาอุปกรณ์ที่เปลี่ยนนั้นร้านซ่อมขายให้ในราคาแพงเกินจริงหรือเปล่า และเปลี่ยนอุปกรณ์แล้วเครื่องจะหายจริงใหม หรือว่าถูกหลอกวางยาให้คุณยกมาซ่อมอีก เรียกว่าซ่อมกันไม่รู้จบสักที ที่กล่าวมาทั้งหมดทาง Bcoms อยากจะแนะนำให้ทุกท่านเห็นประโยขน์ ในการเรีนรู้ทางด้านฮาร์แวร์บ้าง เพื่อให้สามารถตรวจซ่อมละแก้ปัญหาเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องเครื่องไปให้ช่างซ่อม
Bcom.net สร้างขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นคู่มือในการแก้ปัญหา ที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บ Bcoms ทั้งที่ไม่เคยจับคอม ฯ มาก่อนเลย หรือที่เคยใช้งานมาบ้างแล้ว สามารถวิเคระห์และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เอง

เขียนซีดีให้ได้ Over ถึง 850 MB

ปกติแล้วแผ่นซีดี 1 แผ่นจะเก็บข้อมูลได้สูงสุดไม่เกิน 700 MB แต่วันนี้นายเกาเหลาจะขอสร้างปาฏิหาริย์ ด้วยการเขียนข้อมูลให้ได้ความจุถึง 850 MB บอกก่อนนะครับว่าไม่ได้โม้ แต่ทำได้จริง ก่อนอื่น CD-Writer ของคุณจะต้องรองรับเขียนแผ่นแบบ Overburn หรือเขียนแบบ Oversize ได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว CD-Writer ในปัจจุบันก็สามารถใช้งานแบบนั้นได้อยู่แล้ว (นอกเสียจากว่า CD-Writer จะเป็นรุ่นเจ้าคุณทวด อันนี้ก็คงต้องบายทิปนี้ไป)

คราวนี้ให้เปิดโปรแกรม Nero Express ไปเมนู Configure แล้วไปที่ TAB General จากนั้นมาที่รายการ Status bar ในหัวข้อ Yellow marker ใส่ตัวเลข 80 ส่วนช่อง Red marker ใส่ตัวเลข 99 จากนั้นมาที่ TAB Expert Features ใส่เครื่องหมายถูกหน้าข้อความ Enable Overburn Disk- at- onc และในช่อง Maximum CD size ใส่เลข 99 ลงไปครับ ที่นี้เรามาลองเขียนแผ่นซีดีดู โดยตัวอย่างนี้ผมจะเลือกไฟล์ขนาด 850 MB มาลองเขียนลงไปบนแผ่นซีดีขนาด 700 MB อย่าลืมเลือกการเขียนแผ่นแบบ Disk-at-once จากนั้นก็ Burn แผ่นได้เลย
ระบบจะแจ้งว่า Over Burn Writing ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจอะไรเพราะนี่คือการเขียนเกินขอบเขตของระบบ ทำให้คอมพ์มันถามยืนยันว่าจะเขียนแน่เหรอ...เราก็ตอบไปว่าแน่นอน โดยกดที่ปุ่ม Write Overburn Disc แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับท่าน

แน่นอนว่าเมื่อมีดีมันก็ย่อมมีเสีย โดยข้อเสียของการทำ Overburn คือ มันอาจจะทำให้มีการกระตุก หากมีการใช้งานกับไดรฟ์ CD-Rom บางรุ่น (ที่อาจจะไม่รองรับการเขียน-อ่าน Overburn) หรือบางทีอาจจะอ่านไม่ได้เลยก็มีเพราะมันไม่สามารถเคลื่อนหัวอ่านไปถึงพื้นที่บางจุดบนแผ่น เช่น ขอบด้านนอกของแผ่น เป็นต้นครับ...แต่ถ้าจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลใหญ่ๆ เช่นนี้จริงๆ นายเกาเหลาว่าข้อดียอมมีกว่าข้อเสียนะครับ



อยากให้ XP แสดงวันที่ และเวลา?

สำหรับการทำให้ Windows XP แสดงวันที่ และเวลาอย่างสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องยากครับ ซึ่งมันมี 2 วิธีด้วยกัน

โดยวิธีแรกไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ใดๆ เลย แต่คุณอาจจะต้องแลกกับการเปลี่ยนขนาดของทาสก์บาร์ (Taskbar) ขั้นแรกคลิกขวาบนพื้นที่ว่างของทาสก์บาร์ ตรวจสอบรายการที่ปรากฏในคอนเท็กซ์เมนูว่า ไม่มีเครื่องหมายถูกปรากฎหน้าข้อความ Lock the Taskbar ซึ่งหมายถึง ทาสก์บาร์ไม่ได้ถูกล็อก จากนั้นเลื่อนพอยน์เตอร์ของเมาส์ไปที่ขอบด้านบนของทาสก์บาร์จนพอยน์เตอร์เปลี่ยนรูปร่างเป็นหัวลูกศรชี้ขึ้นและลง คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนขึ้น เพื่อเพิ่มขนาดของทาสก์บาร์ให้หนาขึ้นเป็น 2 เท่า คุณจะเห็นวันที่ และเวลาครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่คุณต้องการ จากนั้นคลิกขวาบนพื้นที่ว่างบนทาสก์บาร์อีกทีหนึ่งเลือก Lock the Taskbar เพื่อล็อกขนาดของมัน

อย่างไรก็ตาม วิธีแรกแม้จะง่ายจริง แต่คุณอาจจะต้องแลกกับพื้นที่หน้าจอที่หายไป เนื่องจากขนาดของทาสก์บาร์ที่หนาเตอะขึ้นมา

วิธีที่สอง ซึ่งดูน่าจะเข้าท่ากว่า ก็คือ ดาวน์โหลดฟรีแวร์ตัวเล็กๆ ชื่อว่า Tclockex ที่สามารถปรับเปลี่ยนสีสัน และรุปแบบการแสดงผลนาฬิกาได้ตามต้องการ แถมยังมีคุณสมบัติการทำงานอื่นๆ อย่างเช่น การกำหนดข้อมูลที่ต้องการให้แสดงในทูลทิปเป็นต้น สะดวกวิธีไหนก็เลือกใช้ตามอัธยาศัยนะครับ-นายเกาเหลา Computer.Today

6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย

เรื่อง 6 สัญญาณอันตราย ฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย ว่ากันว่าผู้ใช้บางท่านรู้สึกแย่มากๆ ที่อยู่ดีๆ ฮาร์ดดิสก์สุดที่รักก็จากไปอย่างไม่หวนคืน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นมันมีสัญญาณเตือนให้ทราบอยู่ตลอดเวลา แต่ก็หาได้สังเกตไม่ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีนิสัยรักการแบ็คอัพ ประเภทรักเดียวใจเดียวไม่สำรองข้อมูลไว้ที่อื่นกันบ้างเลย ประเด็นที่อยากจะเตือนผู้ใช้ก็คือ อย่ามั่นใจเทคโนโลยีมากเกินไป ควรสังเกตสังกามันบ้าง ต่อไปนี้คือ ลางบอกเหตุสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใกล้ตาย ซึ่งมีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน อ่านทิปนี้จบแล้วลองพิจารณาดูด้วยนะครับว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่มีอาการตามนี้บ้าง หรือไม่

1. LED แสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ไม่ยอมดับ แม้มันจะฟังดูเกินเหตุ เนื่องจากบางทีมันอาจจะมาจาก LED มีปัญหาก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว การที่ LED แสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์สว่างอยู่ตลอดเวลา ค่อนข้างจะชัดเจนว่า มันมีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และยิ่งปล่อยเนิ่นนานไป ปัญหาจะลุกลามไปจนแก้ไม่ได้ในที่สุด

2. ฮาร์ดดิสก์ใช้เวลานานกว่าจะพร้อมทำงาน ฮาร์ดดิสก์ของคุณใช้เวลาในการบู๊ตนานเกินไป หรือเปล่า? จริงอยู่ที่มันอาจจากการที่ต้องโหลดโปรแกรมเริ่มต้นการทำงานหลายตัว แต่ถึงนั้นก็เถอะ ถ้ามันใช้เวลาเกินกว่าสองนาทีก็ถือว่า มีพิรุธแล้ว เพราะนั่นอาจเกิดจากการอ่าน หรือเขียนข้อความที่ผิดพลาดบนฮาร์ดดิสก์อยู่ก็ได้

3. ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถหา File Table ได้ ถ้าฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถหา Windows Master File Table (MFT) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกิดการล่มของการทำงานอย่างไม่คาดฝัน กรณีนี้แทบจะเรียกได้ว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณเข้าขั้นโคม่าเต็มทีแล้ว

4. CHKDSK แสดงเซคเตอร์เสีย (bad sector) Bad sector คือความจริงของชีวิต การที่ยูทิลิตี้แสดงว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณมี bad sector นั่นหมายความว่า ความเสื่อมสภาพกำลังคืบคลานเข้ามาสู่ฮาร์ดดิสก์ของคุณทีละก้าวๆ แม้มันจะช้ามาก แต่เป็นสัญญาณเตือนที่คอยบอกคุณว่า ความหายนะกำลังใกล้เข้ามาเยือนฮาร์ดดิสก์ของคุณแล้ว

5. ฮาร์ดดิสก์ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ปกติฮาร์ดดิสก์เวลาทำงานจะอุ่นๆ อยู่แล้ว แต่ถ้ามันร้อนมากจนรู้สึกได้ บางครั้งมีกลิ่นออกมาเลย ถ้ามีอาการเช่นนี้ก็เตรียมทำพิธีได้เลย ฮาร์ดดิสก์ของคุณใกล้ตายเต็มทีแล้ว

6. ประวัติของฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ที่เคยตกบนพื้นแข็ง (ขณะที่มันยังคงทำอยู่ หรือไม่ก็ตาม) หรือได้รับความร้อนมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อฮาร์ดดิสก์ได้รับการติดตั้งไว้ใกล้กับพัดลมระบายความร้อนซีพียู หรือพัดลมเสีย ซึ่งทั้งสองกรณีทำให้ความร้อนภายในสูงขึ้น ความร้อนนี้จะส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์เริ่มมีอาการเอ๋อ อย่างเช่น มีปัญหาในการอ่าน หรือเขียนไฟล์ ปล่อยให้เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ อายุของฮาร์ดดิสก์จะสั้นลงอย่างไม่ต้องสงสัย และหากฮาร์ดดิสก์มีประวัติทำนองนี้อยู่ล่ะก็ อายุของมันไม่ยืดแน่นอนครับ

ข่าวอัพเดต

เว็บบอร์ด

Google

Google

งานราชการ

แจกโค๊ดฟรี ทุกอย่าง ที่นี้

MSN

สถานีวิทยุออนไลน์

อัลบั้มรูปสาวๆน่ารัก

วีดีโอคลิป Video Clip

เพลง นิยาย Retrospect เพราะมากกก

เกมออนไลน์

หมวดต่างๆ