วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่อง
เมนบอร์ด
เมนบอร์ด มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้ คือ ซีพียู ชิปเซ็ต ไบออส แรม รอม RTC (Real Time Clock) แบตเตอรี สล๊อตสำหรับเสียบการ์ดต่าง ๆ ความเสียหายที่เกิดกับเมนบอร์ดเป็นเรื่องที่แก้ไขค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ แต่ปัญหาหนึ่งที่สามารถป้องกันได้ คือ ในเมนบอร์ดที่ใช้แบตเตอรีแบบที่รีชาร์จได้จะพบปัญหาน้ำกรดในแบตเตอรีรั่วซึมมากัดลายพรินต์บนเมนบอร์ด ทำให้เมนบอร์ดเสียหายจนถึงขั้นใช้งานไม่ได้ ปัญหานี้มักเกิดกับเครื่องที่มีอายุการใช้งานมามากกว่า 2 ปี หรือเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ทำให้แบตเตอรีเสื่อมคุณภาพ เกิดการรั่วซึมของกรด วิธีป้องกันทำได้ง่าย ๆ โดยการซื้อแบตเตอรี่มาเปลี่ยนใหม่ ซึ่งขั้นตอนการเปลี่ยนต้องอาศัยฝีมือในการเชื่อม ซึ่งคิดว่าคงไม่เกินความสามารถถ้ายากจะทดลองทำเอง
แรมและการ์ดวีจีเอ
ในกรณีที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ตอบสนองจากเครื่องเลย นั้นแสดงว่าอาการอยู่ในขั้นโคม่า เรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นแค่มือสมัครเล่นคงช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้าเสียงตุ๊ด ตู๊ดจากลำโพง แสดงว่าความหวังยังมีอยู่ สิ่งแรกที่ควรทำการตรวจสอบคือแรม ลงหาแรมจากเครื่องที่อยู่ในสภาพดีมาเปลี่ยนดู สุดท้ายถ้ายังไม่ได้ผลก็ทดลองดึงการ์ดอินพุท-เอาพุทออก อาการดังกล่าวข้างต้นส่วนใหญ่เกิดจากแรม การ์ดวีจีเอ การ์ดอินพุท-เอาพุท แต่ถ้ายังไม่ได้ผลก็คงต้องส่งโรงหมอ
การ์ดวีจีเอและการ์ดข้างเคียงอื่น
การ์ดต่าง ๆ ที่เสียบอยู่ในสล็อตบนเมนบอร์ดนาน อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินของสัญญาณต่าง ๆ เนื่องจากที่ขาของการ์ดเหล่านี้อาจมีฝุ่นหรือออกไซด์ของโลหะ ที่ขัดขวางการเดินของสัญญาณ วิธีแก้ไขหายางลบดินสอมาสัก 1 แท่ง ถอดการ์ดต่าง ๆ ออก ใช้ยางลบขัดที่ขาของการ์ดเหล่านี้ ถ้าการวิเคราะห์ปัญหาของท่านถูกต้อง อาการต่าง ๆ ที่เคยรบกวนใจท่านอาจจะหายเป็นปลิดทิ้ง
ฟลอปปี้ดิสค์ไดร์ฟ
วันดีคืนดีฟลอปปี้ดิสค์ไดร์ฟของท่านที่เคยใช้อยู่ทุกวัน ก็เลิกทำงาน สาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากหัวอ่านสกปรก เท่าที่พบปรากฎว่าอาการเสียจะเกิดเมื่อท่านนำแผ่นดิสค์ที่เก็บไว้นานแสนนานมาใช้ เมื่อส่งถึงมือช่างท่านก็จะบอกช่างว่าแผ่นดิสค์แผ่นนี้นาน ๆ จะใช้สักครั้งไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้เครื่องเสียได้เลย แต่จริง ๆ แล้วแผ่นเหล่านี้คือต้นเหตุ แผ่นที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีโอกาสเก็บความชื้นจากอากาศได้มาก เพราะภายในแผ่นจะมีกระดาษที่ทำหน้าที่ทำความสะอาดแผ่น ซึ่งสามารถเก็บความชื้นได้ดี ความชื้นสามารถทำให้พื้นผิวของแผ่นดิสค์ขึ้นสนิม เมื่อท่านใส่แผ่นพวกนี้เข้าไปในฟลอปปี้ดิสค์ จะมีเสียงคล้าย ๆ คำบอกลา หลังจากนั้นจะแสดงข้อความบอกความผิดพลาด อาการเช่นนี้ท่านใช้แค่แผ่นล้างกับน้ำยาแทบจะช่วยอะไรไม่ได้ ทางที่ดีท่านควรเปิดฝาเครื่องรื้อเอาฟลอปปี้ดิสค์ออกมา พร้อมทั้งหาทางเปิดฝาครอบด้านบนออก ใช้แผ่นล้างกับน้ำยา ในขณะที่ฟลอปปี้ดิสค์ทำงาน ให้ท่านกดที่หัวอ่าน-เขียน แล้วปล่อยสลับไปมาหลาย ๆ ครั้ง จนกว่าจะสะอาด
ในกรณีที่ท่านทำความสะอาดหัวอ่านจนน้ำยาหมดไปแล้ว 1 ขวด แต่อาการต่าง ๆ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ให้ท่านลองทำความสะอาดที่แกนซึ่งมีลักษณะเป็นเกลียวของสเตปปิงมอเตอร์ที่ใช้ควบคุมการเลื่อนของหัวอ่าน-เขียน โดยใช้สเปร์ยทำความสะอาดวงจรอีเล็คทรอนิกส์ ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายเครื่องอีเล็กทรอนิกส์ ถ้าถึงขั้นนี้แล้วยังไม่มีอะไรดีขึ้น ก็ควรจะซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนได้แล้ว
คีย์บอร์ด
คีย์บอร์ดเป็นปัญหาหนึ่งที่คอยกวนใจผู้ใช้อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เป็นอันมาก พิมพ์ 1 ตัว แถบมา 1 ตัว กดเบา ๆ ไม่ค่อยจะยอมรับรู้อะไร ต้องว่ากันแรง ๆ ถึงจะได้เรื่อง หรือกดแล้วเฉยก็ยังมี ปัญหาเหล่านี้อาจจะแก้ได้โดยวิธีการง่าย ๆ คีย์บอร์ดสมัยใหม่ส่วนใหญ่ใช้แผ่นยาง 2 แผ่นประกบกัน ตรงตำแหน่งของปุ่มบนแผ่นยางทั้งสองเคลือบด้วยคาร์บอนเพื่อใช้เป็นสื่อทางไฟฟ้า ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่น ดังนั้นท่านเพียงแต่ถอดคีย์บอร์ดออกมา ค่อย ๆ แยกแผ่นยางทั้งสองออกจากกัน ใช้แปรงขนนุ่ม ๆ ค่อย ๆ ปัดฝุ่นทำความสะอาดบนแผ่นยางทั้งสอง ประกอบคีย์บอร์ดให้อยู่ในสภาพเดิม ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดมันก็ควรจะใช้งานได้ดีกว่าเดิม
ในกรณีที่เป็นคีย์บอร์ดรุ่นเก่าที่เป็นแป้นพิมพ์มีลักษณะคล้ายสวิทช์ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากรอยเชื่อมที่ตัวสวิทช์หลวม เนื่องจากสวิทช์แต่ละตัวผ่านการใช้งานมาไม่รู้กี่หมื่นกี่พันครั้ง วิธีแก้ไขให้เปิดฝาครอบด้านหลัง ใช้หัวแร้งจี้ที่ขาของแป้นพิมพ์ที่มีปัญหา ให้ตะกั่วที่ขาเกิดการหลอมละลาย และยึดขาเข้ากับแผงวงจรใหม่
เครื่องมันรวน
หลายโรงเรียนที่มีทุนทรัพย์ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องเมดอินไทยแลนด์ อาจจะมาจากพันธุ์ทิพย์ หรือแหล่งอื่น ๆ สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับก็คือ ของราคาถูกคุณภาพก็ต้องถูกด้วย แต่คุณภาพไม่ได้แปรผันเป็นเส้นตรงกับเครื่องที่มีแบรนด์ทั้งหลาย ดังนั้นเครื่องโลคอลแบรนด์ ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ หลายท่านคงเคยเจอปัญหานี้คือ เครื่องของท่านมันรวนจนวิเคราะห์ไม่ได้ว่าสาเหตุมาจากฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ เพราะซอฟต์แวร์ที่มีไลเซนต์ก็ไม่มีเงินซื้อ ลองหมดทุกกระบวนท่าแล้วก็ยังไม่หาย แต่สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ ท่านมักจะลืมกัน คือ เพาเวอร์ซัพพลาย เพราะเพาเวอร์ซัพพลายเป็นแหล่งพลังงานสำหรับอุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบ เพราะฉะนั้นถ้าส่วนนี้ทำงานผิดพลาด ไม่ว่าท่านจะแก้ไขที่ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ มันก็ไม่มีทางที่จะหายได้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านตรวจสอบหมดทุกกระบวนท่าแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผล อย่าลืมนึกถึงเพาเวอร์ซัพพลายด์
ปัญหาจากไดร์เวอร์ของการ์ด S3 บางรุ่นกับเครื่องพิมพ์ตระกูล LQ ของ Epson
ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวมากที่สุด เพราะไม่รู้ว่าไดร์เวอร์ของการ์ดวีจีเอ ไปเกี่ยวกับขบวนการพิมพ์ได้อย่างไร ปัญหาที่พบคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดตั้งการ์ด S3 พร้อมไดร์เวอร์ กำหนดสีเป็น 256 สี ต่ออยู่กับเครื่องพิมพ์ Epson LQ 1170 ไดร์เวอร์ที่ใช้คือ ESC/P 1170 ผลจากการพิมพ์ปรากฏว่าตัวอักษรตัวสุดท้ายของบรรทัดหายไปครึ่งตัว หาทางแก้ไขอยู่นานก็ไม่สำเร็จ ลองโทรไปถามตัวแทนจำหน่าย เขาก็โอนสายไปยังช่างเทคนิคชาวไต้หวันที่พูดไทยได้ 2-3 คำ พูดอังกฤษได้เยอะ กับเราซึ่งพูดอังกฤษได้ 2-3 คำ กับภาษาไทยสันทัดมาก เลยคุยกันไม่รู้เรื่องและสู้ค่าโทรทางไกลไม่ไหว เลยลอยมามั่วดูใหม่ ปรากฏว่ายูเรกาพบแล้ว คือถ้ากำหนดสีเป็น 16 สี การพิมพ์ก็เป็นปกติดี แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ก็คือ 16 สี จะใช้กับโปรแกรมประเภทมัลติมีเดียไม่ได้ ก็เลยต้องมาลองผิด-ลองถูกกันใหม่ สรุปได้ว่าเราสามารถกำหนดสีเป็น 256 สี หรือมากกว่าได้ แต่ไดร์เวอร์ของเครื่องพิมพ์ต้องเป็น LQ รุ่นเก่า ลองติดตั้งเป็น LQ 2500 ปรากฏว่าใช้การได้ดีไม่มีปัญหา ไม่ทราบว่าท่านเคยพบปัญหานี้กันบ้างหรือเปล่า
Windows 95 กับเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix
หลายท่านเพิ่งจะอพยพขึ้นมาอยู่บน Windows 95 แต่แล้วเหตุการณ์ที่ชวนให้ผิดหวังก็บังเกิด นั้นคือเวลาพิมพ์มันก็พิมพ์ออกมาได้ปกติ แต่สิ่งที่ปรากฏมันไม่ต่างไปจากขยะ เพราะมันใช้สื่อความหมายไม่ได้ ปัญหานี้เกิดจากพอร์ตของเครื่องพิมพ์ ณ ขณะนี้ในพีซีที่เราท่านใช้อยู่มีพอร์ตเครื่องพิมพ์อยู่ 3 ประเภท คือ SPP เป็นของเก่าดั้งเดิม ส่งข้อมูลได้ช้า สื่อสารได้ทางเดียว ประเภทที่สอง EPP เป็นการขยายความสามารถของแบบเก่าให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น มีการสื่อสารสองทาง ประเภทที่สาม ECP พัฒนาโดยบริษัท HP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวม ที่สำคัญคือช่วยเสริมประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์ที่ผลิตโดย HP เครื่องแบบ Dot Matrix ควรกำหนดพอร์ตแบบใด คำตอบก็คือ SPP แล้วกำหนดที่ไหน งานนี้ต้องเข้าไปกำหนดที่ CMOS ท่าน ๆ ที่ชอบเรื่องฮาร์ดแวร์ หรือชอบทำอะไรด้วยตนเองคงคุ้นกับ CMOS เป็นอย่าง ลองหาดูว่าอยู่ที่ใด
สำหรับท่านที่นิยมใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต้องอาศัยพอร์ตเครื่องพิมพ์เป็นทางผ่าน อาทิเช่น Zip drive เครื่อง
เขียนแผ่นซีดี สแกนเนอร์ ท่านต้องศึกษาว่าอุปกรณ์ของท่านต้องการพอร์ตเครื่องพิมพ์แบบใดใน 3 ประเภทข้างต้น และกำหนดให้ตรงตามที่ระบุ จะทำให้ท่านได้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
เขียนโดย : อาจารย์พงศ์ศัก์ดิ์ ลีละวัฒนพันธ์
เมนบอร์ด มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้ คือ ซีพียู ชิปเซ็ต ไบออส แรม รอม RTC (Real Time Clock) แบตเตอรี สล๊อตสำหรับเสียบการ์ดต่าง ๆ ความเสียหายที่เกิดกับเมนบอร์ดเป็นเรื่องที่แก้ไขค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ แต่ปัญหาหนึ่งที่สามารถป้องกันได้ คือ ในเมนบอร์ดที่ใช้แบตเตอรีแบบที่รีชาร์จได้จะพบปัญหาน้ำกรดในแบตเตอรีรั่วซึมมากัดลายพรินต์บนเมนบอร์ด ทำให้เมนบอร์ดเสียหายจนถึงขั้นใช้งานไม่ได้ ปัญหานี้มักเกิดกับเครื่องที่มีอายุการใช้งานมามากกว่า 2 ปี หรือเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ทำให้แบตเตอรีเสื่อมคุณภาพ เกิดการรั่วซึมของกรด วิธีป้องกันทำได้ง่าย ๆ โดยการซื้อแบตเตอรี่มาเปลี่ยนใหม่ ซึ่งขั้นตอนการเปลี่ยนต้องอาศัยฝีมือในการเชื่อม ซึ่งคิดว่าคงไม่เกินความสามารถถ้ายากจะทดลองทำเอง
แรมและการ์ดวีจีเอ
ในกรณีที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ตอบสนองจากเครื่องเลย นั้นแสดงว่าอาการอยู่ในขั้นโคม่า เรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นแค่มือสมัครเล่นคงช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้าเสียงตุ๊ด ตู๊ดจากลำโพง แสดงว่าความหวังยังมีอยู่ สิ่งแรกที่ควรทำการตรวจสอบคือแรม ลงหาแรมจากเครื่องที่อยู่ในสภาพดีมาเปลี่ยนดู สุดท้ายถ้ายังไม่ได้ผลก็ทดลองดึงการ์ดอินพุท-เอาพุทออก อาการดังกล่าวข้างต้นส่วนใหญ่เกิดจากแรม การ์ดวีจีเอ การ์ดอินพุท-เอาพุท แต่ถ้ายังไม่ได้ผลก็คงต้องส่งโรงหมอ
การ์ดวีจีเอและการ์ดข้างเคียงอื่น
การ์ดต่าง ๆ ที่เสียบอยู่ในสล็อตบนเมนบอร์ดนาน อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินของสัญญาณต่าง ๆ เนื่องจากที่ขาของการ์ดเหล่านี้อาจมีฝุ่นหรือออกไซด์ของโลหะ ที่ขัดขวางการเดินของสัญญาณ วิธีแก้ไขหายางลบดินสอมาสัก 1 แท่ง ถอดการ์ดต่าง ๆ ออก ใช้ยางลบขัดที่ขาของการ์ดเหล่านี้ ถ้าการวิเคราะห์ปัญหาของท่านถูกต้อง อาการต่าง ๆ ที่เคยรบกวนใจท่านอาจจะหายเป็นปลิดทิ้ง
ฟลอปปี้ดิสค์ไดร์ฟ
วันดีคืนดีฟลอปปี้ดิสค์ไดร์ฟของท่านที่เคยใช้อยู่ทุกวัน ก็เลิกทำงาน สาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากหัวอ่านสกปรก เท่าที่พบปรากฎว่าอาการเสียจะเกิดเมื่อท่านนำแผ่นดิสค์ที่เก็บไว้นานแสนนานมาใช้ เมื่อส่งถึงมือช่างท่านก็จะบอกช่างว่าแผ่นดิสค์แผ่นนี้นาน ๆ จะใช้สักครั้งไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้เครื่องเสียได้เลย แต่จริง ๆ แล้วแผ่นเหล่านี้คือต้นเหตุ แผ่นที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีโอกาสเก็บความชื้นจากอากาศได้มาก เพราะภายในแผ่นจะมีกระดาษที่ทำหน้าที่ทำความสะอาดแผ่น ซึ่งสามารถเก็บความชื้นได้ดี ความชื้นสามารถทำให้พื้นผิวของแผ่นดิสค์ขึ้นสนิม เมื่อท่านใส่แผ่นพวกนี้เข้าไปในฟลอปปี้ดิสค์ จะมีเสียงคล้าย ๆ คำบอกลา หลังจากนั้นจะแสดงข้อความบอกความผิดพลาด อาการเช่นนี้ท่านใช้แค่แผ่นล้างกับน้ำยาแทบจะช่วยอะไรไม่ได้ ทางที่ดีท่านควรเปิดฝาเครื่องรื้อเอาฟลอปปี้ดิสค์ออกมา พร้อมทั้งหาทางเปิดฝาครอบด้านบนออก ใช้แผ่นล้างกับน้ำยา ในขณะที่ฟลอปปี้ดิสค์ทำงาน ให้ท่านกดที่หัวอ่าน-เขียน แล้วปล่อยสลับไปมาหลาย ๆ ครั้ง จนกว่าจะสะอาด
ในกรณีที่ท่านทำความสะอาดหัวอ่านจนน้ำยาหมดไปแล้ว 1 ขวด แต่อาการต่าง ๆ ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง ให้ท่านลองทำความสะอาดที่แกนซึ่งมีลักษณะเป็นเกลียวของสเตปปิงมอเตอร์ที่ใช้ควบคุมการเลื่อนของหัวอ่าน-เขียน โดยใช้สเปร์ยทำความสะอาดวงจรอีเล็คทรอนิกส์ ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายเครื่องอีเล็กทรอนิกส์ ถ้าถึงขั้นนี้แล้วยังไม่มีอะไรดีขึ้น ก็ควรจะซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนได้แล้ว
คีย์บอร์ด
คีย์บอร์ดเป็นปัญหาหนึ่งที่คอยกวนใจผู้ใช้อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เป็นอันมาก พิมพ์ 1 ตัว แถบมา 1 ตัว กดเบา ๆ ไม่ค่อยจะยอมรับรู้อะไร ต้องว่ากันแรง ๆ ถึงจะได้เรื่อง หรือกดแล้วเฉยก็ยังมี ปัญหาเหล่านี้อาจจะแก้ได้โดยวิธีการง่าย ๆ คีย์บอร์ดสมัยใหม่ส่วนใหญ่ใช้แผ่นยาง 2 แผ่นประกบกัน ตรงตำแหน่งของปุ่มบนแผ่นยางทั้งสองเคลือบด้วยคาร์บอนเพื่อใช้เป็นสื่อทางไฟฟ้า ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่น ดังนั้นท่านเพียงแต่ถอดคีย์บอร์ดออกมา ค่อย ๆ แยกแผ่นยางทั้งสองออกจากกัน ใช้แปรงขนนุ่ม ๆ ค่อย ๆ ปัดฝุ่นทำความสะอาดบนแผ่นยางทั้งสอง ประกอบคีย์บอร์ดให้อยู่ในสภาพเดิม ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดมันก็ควรจะใช้งานได้ดีกว่าเดิม
ในกรณีที่เป็นคีย์บอร์ดรุ่นเก่าที่เป็นแป้นพิมพ์มีลักษณะคล้ายสวิทช์ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากรอยเชื่อมที่ตัวสวิทช์หลวม เนื่องจากสวิทช์แต่ละตัวผ่านการใช้งานมาไม่รู้กี่หมื่นกี่พันครั้ง วิธีแก้ไขให้เปิดฝาครอบด้านหลัง ใช้หัวแร้งจี้ที่ขาของแป้นพิมพ์ที่มีปัญหา ให้ตะกั่วที่ขาเกิดการหลอมละลาย และยึดขาเข้ากับแผงวงจรใหม่
เครื่องมันรวน
หลายโรงเรียนที่มีทุนทรัพย์ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องเมดอินไทยแลนด์ อาจจะมาจากพันธุ์ทิพย์ หรือแหล่งอื่น ๆ สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับก็คือ ของราคาถูกคุณภาพก็ต้องถูกด้วย แต่คุณภาพไม่ได้แปรผันเป็นเส้นตรงกับเครื่องที่มีแบรนด์ทั้งหลาย ดังนั้นเครื่องโลคอลแบรนด์ ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ หลายท่านคงเคยเจอปัญหานี้คือ เครื่องของท่านมันรวนจนวิเคราะห์ไม่ได้ว่าสาเหตุมาจากฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ เพราะซอฟต์แวร์ที่มีไลเซนต์ก็ไม่มีเงินซื้อ ลองหมดทุกกระบวนท่าแล้วก็ยังไม่หาย แต่สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ ท่านมักจะลืมกัน คือ เพาเวอร์ซัพพลาย เพราะเพาเวอร์ซัพพลายเป็นแหล่งพลังงานสำหรับอุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบ เพราะฉะนั้นถ้าส่วนนี้ทำงานผิดพลาด ไม่ว่าท่านจะแก้ไขที่ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ มันก็ไม่มีทางที่จะหายได้ เพราะฉะนั้นถ้าท่านตรวจสอบหมดทุกกระบวนท่าแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผล อย่าลืมนึกถึงเพาเวอร์ซัพพลายด์
ปัญหาจากไดร์เวอร์ของการ์ด S3 บางรุ่นกับเครื่องพิมพ์ตระกูล LQ ของ Epson
ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวมากที่สุด เพราะไม่รู้ว่าไดร์เวอร์ของการ์ดวีจีเอ ไปเกี่ยวกับขบวนการพิมพ์ได้อย่างไร ปัญหาที่พบคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดตั้งการ์ด S3 พร้อมไดร์เวอร์ กำหนดสีเป็น 256 สี ต่ออยู่กับเครื่องพิมพ์ Epson LQ 1170 ไดร์เวอร์ที่ใช้คือ ESC/P 1170 ผลจากการพิมพ์ปรากฏว่าตัวอักษรตัวสุดท้ายของบรรทัดหายไปครึ่งตัว หาทางแก้ไขอยู่นานก็ไม่สำเร็จ ลองโทรไปถามตัวแทนจำหน่าย เขาก็โอนสายไปยังช่างเทคนิคชาวไต้หวันที่พูดไทยได้ 2-3 คำ พูดอังกฤษได้เยอะ กับเราซึ่งพูดอังกฤษได้ 2-3 คำ กับภาษาไทยสันทัดมาก เลยคุยกันไม่รู้เรื่องและสู้ค่าโทรทางไกลไม่ไหว เลยลอยมามั่วดูใหม่ ปรากฏว่ายูเรกาพบแล้ว คือถ้ากำหนดสีเป็น 16 สี การพิมพ์ก็เป็นปกติดี แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ก็คือ 16 สี จะใช้กับโปรแกรมประเภทมัลติมีเดียไม่ได้ ก็เลยต้องมาลองผิด-ลองถูกกันใหม่ สรุปได้ว่าเราสามารถกำหนดสีเป็น 256 สี หรือมากกว่าได้ แต่ไดร์เวอร์ของเครื่องพิมพ์ต้องเป็น LQ รุ่นเก่า ลองติดตั้งเป็น LQ 2500 ปรากฏว่าใช้การได้ดีไม่มีปัญหา ไม่ทราบว่าท่านเคยพบปัญหานี้กันบ้างหรือเปล่า
Windows 95 กับเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix
หลายท่านเพิ่งจะอพยพขึ้นมาอยู่บน Windows 95 แต่แล้วเหตุการณ์ที่ชวนให้ผิดหวังก็บังเกิด นั้นคือเวลาพิมพ์มันก็พิมพ์ออกมาได้ปกติ แต่สิ่งที่ปรากฏมันไม่ต่างไปจากขยะ เพราะมันใช้สื่อความหมายไม่ได้ ปัญหานี้เกิดจากพอร์ตของเครื่องพิมพ์ ณ ขณะนี้ในพีซีที่เราท่านใช้อยู่มีพอร์ตเครื่องพิมพ์อยู่ 3 ประเภท คือ SPP เป็นของเก่าดั้งเดิม ส่งข้อมูลได้ช้า สื่อสารได้ทางเดียว ประเภทที่สอง EPP เป็นการขยายความสามารถของแบบเก่าให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น มีการสื่อสารสองทาง ประเภทที่สาม ECP พัฒนาโดยบริษัท HP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวม ที่สำคัญคือช่วยเสริมประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์ที่ผลิตโดย HP เครื่องแบบ Dot Matrix ควรกำหนดพอร์ตแบบใด คำตอบก็คือ SPP แล้วกำหนดที่ไหน งานนี้ต้องเข้าไปกำหนดที่ CMOS ท่าน ๆ ที่ชอบเรื่องฮาร์ดแวร์ หรือชอบทำอะไรด้วยตนเองคงคุ้นกับ CMOS เป็นอย่าง ลองหาดูว่าอยู่ที่ใด
สำหรับท่านที่นิยมใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต้องอาศัยพอร์ตเครื่องพิมพ์เป็นทางผ่าน อาทิเช่น Zip drive เครื่อง
เขียนแผ่นซีดี สแกนเนอร์ ท่านต้องศึกษาว่าอุปกรณ์ของท่านต้องการพอร์ตเครื่องพิมพ์แบบใดใน 3 ประเภทข้างต้น และกำหนดให้ตรงตามที่ระบุ จะทำให้ท่านได้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
เขียนโดย : อาจารย์พงศ์ศัก์ดิ์ ลีละวัฒนพันธ์
เครื่องพิมพ์เลเซอร์
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์ที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกราดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร
เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฎบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด แต่จะเงียบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที โดยมีความละเอียดของจุดภาพประมาณ 300 จุดต่อนิ้ว จึงทำให้ได้ภาพกราฟิกที่สวยงามและตัวหนังสือที่คมชัด มีชุดแบบอักษรหลายชุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงจะมีความเร็วของการพิมพ์สูงขึ้นคือตั้งแต่ 20 หน้าต่อนาทีไปจนถึง 70 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงนี้จะมีราคาแพง ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้งานในสำนักงานทั่วไป
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังมีการพัฒนาต่อไป โปรแกรมสร้างภาพกราฟิกจะมีขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถสร้างและวาดภาพในลักษณะเป็นชิ้นส่วนวัตถุมาผสมผสานกันให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องแปลงข้อมูลภาพมาเป็นจุดภาพ แล้วจึงส่งข้อมูลจุดภาพไปยังเครื่องพิมพ์ ภาพที่สร้างและแสดงผลออกที่เครื่องพิมพ์จะใช้เวลายาวนานหลายนาทีต่อภาพ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยุคใหม่จะมีหน่วยประมวลผลหรือไมโครโพรเซสเซอร์อยู่ภายในสำหรับรับข้อมูลภาพเพื่อแบ่งเบาภาระงานของคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันจะมีหน่วยความจำขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับเก็บข้อมูลภาพได้มากขึ้น
คำสั่งหรือภาษาเพื่ออธิบายข้อมูลภาพที่นิยมใช้กับเครื่องเลเซอร์รุ่นใหม่นี้ ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาโพสท์คริปต์ จนนิยมเรียกเครื่องพิมพ์นี้ว่า เครื่องพิมพ์โพสท์คริปต์
ในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้งานจะต้องพิจารณาคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. คุณภาพของการพิมพ์ หน่วยบอกคุณภาพจะระบุเป็นจุดภาพ เริ่มจาก 300 จุดภาพต่อนิ้วขึ้นไปจนถึง 600 จุดภาพต่อนิ้ว ถ้าจำนวนจุดภาพต่อนิ้วสูงมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ภาพคมชัดมากขึ้นเท่านั้น
2. ความเร็วของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับใช้งานทั่วไปจะมีอัตราความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที ซึ่งอัตราความเร็วของการพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในคุณลักษณะของเครื่องอาจจะไม่ถูกต้องนัก ผู้ใช้อาจทดสอบความเร็วด้วยงานพิมพ์ต่าง ๆ กัน เช่นพิมพ์เอกสารแบบไม่เว้นบรรทัด เอกสารแบบเว้นบรรทัดและภาพกราฟิก โดยมีชุดแบบอักษรต่าง ๆ กัน แล้วจดบันทึกเวลาเพื่อเปรียบเทียบผล
3. หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรและภาพเอาไว้ ตามปกติจะมีหน่วยความจำอยู่ 512 กิโลไบต์ถึง 1 เมกะไบต์ และสามารถขยายเพิ่มเติมได้อีก เครื่องที่มีหน่วยความจำสูงกว่า ราคาแพงกว่าจะทำงานได้เร็วกว่า เพราะคอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลภาพไปพิมพ์ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลหลาย ๆ ครั้ง
รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฎบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด แต่จะเงียบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที โดยมีความละเอียดของจุดภาพประมาณ 300 จุดต่อนิ้ว จึงทำให้ได้ภาพกราฟิกที่สวยงามและตัวหนังสือที่คมชัด มีชุดแบบอักษรหลายชุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงจะมีความเร็วของการพิมพ์สูงขึ้นคือตั้งแต่ 20 หน้าต่อนาทีไปจนถึง 70 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงนี้จะมีราคาแพง ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้งานในสำนักงานทั่วไป
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังมีการพัฒนาต่อไป โปรแกรมสร้างภาพกราฟิกจะมีขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถสร้างและวาดภาพในลักษณะเป็นชิ้นส่วนวัตถุมาผสมผสานกันให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องแปลงข้อมูลภาพมาเป็นจุดภาพ แล้วจึงส่งข้อมูลจุดภาพไปยังเครื่องพิมพ์ ภาพที่สร้างและแสดงผลออกที่เครื่องพิมพ์จะใช้เวลายาวนานหลายนาทีต่อภาพ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยุคใหม่จะมีหน่วยประมวลผลหรือไมโครโพรเซสเซอร์อยู่ภายในสำหรับรับข้อมูลภาพเพื่อแบ่งเบาภาระงานของคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันจะมีหน่วยความจำขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับเก็บข้อมูลภาพได้มากขึ้น
คำสั่งหรือภาษาเพื่ออธิบายข้อมูลภาพที่นิยมใช้กับเครื่องเลเซอร์รุ่นใหม่นี้ ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาโพสท์คริปต์ จนนิยมเรียกเครื่องพิมพ์นี้ว่า เครื่องพิมพ์โพสท์คริปต์
ในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้งานจะต้องพิจารณาคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. คุณภาพของการพิมพ์ หน่วยบอกคุณภาพจะระบุเป็นจุดภาพ เริ่มจาก 300 จุดภาพต่อนิ้วขึ้นไปจนถึง 600 จุดภาพต่อนิ้ว ถ้าจำนวนจุดภาพต่อนิ้วสูงมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ภาพคมชัดมากขึ้นเท่านั้น
2. ความเร็วของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับใช้งานทั่วไปจะมีอัตราความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที ซึ่งอัตราความเร็วของการพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในคุณลักษณะของเครื่องอาจจะไม่ถูกต้องนัก ผู้ใช้อาจทดสอบความเร็วด้วยงานพิมพ์ต่าง ๆ กัน เช่นพิมพ์เอกสารแบบไม่เว้นบรรทัด เอกสารแบบเว้นบรรทัดและภาพกราฟิก โดยมีชุดแบบอักษรต่าง ๆ กัน แล้วจดบันทึกเวลาเพื่อเปรียบเทียบผล
3. หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรและภาพเอาไว้ ตามปกติจะมีหน่วยความจำอยู่ 512 กิโลไบต์ถึง 1 เมกะไบต์ และสามารถขยายเพิ่มเติมได้อีก เครื่องที่มีหน่วยความจำสูงกว่า ราคาแพงกว่าจะทำงานได้เร็วกว่า เพราะคอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลภาพไปพิมพ์ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลหลาย ๆ ครั้ง
รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฮาร์ดดิสค์ (Hard disk)
ลักษณะทั่วไป
ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์
แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์
เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้าจานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัดเรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัดเรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน
จากรูปแสดงฮาร์ดดิสค์ที่มีแผ่นจาน 2 แผ่น พร้อมการกำกับชื่อแผ่นและหน้าของดิสค์ ผิวของแผ่นจานกับหัวอ่านเขียนจะอยู่เกือบชิดติดกัน คือห่างกันเพียงหนึ่งในแสนของนิ้ว และระยะห่างนี้ ในระหว่างแทร็กต่าง ๆ ควรสม่ำเสมอเท่ากัน ซึ่งกลไกของเครื่องและการประกอบฮาร์ดดิสค์ต้องละเอียดแม่นยำมาก การหมุนอย่างรวดเร็วของแผ่นจาน ทำให้หัวอ่านเขียนแยกห่างจากผิวจาน ด้วยแรงลมหมุนของจาน แต่ถ้าแผ่นจานไม่ได้หมุนหรือปิดเครื่อง หัวอ่านเขียนจะเลื่อนลงชิดกับแผ่นจาน ดังนั้นเวลาเลิกจากการใช้งานเรานิยมเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังบริเวณที่ไม่ได้ใช้เก็บข้อมูลที่เรียกว่า Landing Zone เพื่อว่าถ้าเกิดการกระแทรกของหัวอ่านเขียนและผิวหน้าแผ่นจานก็จะไม่มีผลต่อข้อมูลที่เก็บไว้
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสค์กับหน่วยความจำ
ฮาร์ดดิสค์ที่ใช้งานประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะต้องมีการ์ดควบคุมฮาร์ดดิสค์มาทำงานร่วม โดยจะเสียบเข้ากับสล้อตที่ยังว่างอยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการอ่านข้อมูลจากดิสค์ หัวอ่านเขียนจะนำข้อมูลที่อ่านได้ส่งผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดรฟ์ไปยังการ์ดควบคุมดิสค์ โดยจะเก็บอยู่ในเนื้อที่ความจำชั่วคราวเพื่อเก็บข้อมูล เรียกบัฟเฟอร์ข้อมูล (Data buffer) ขณะเดียวกันวงจรบนการ์ดควบคุมจะส่งสัญญาณไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ซึ่งก็คือไมโครโปรเซสเซอร์ เบอร์ 8088, 80286 หรือ 80386 เป็นต้น เพื่อให้ตัวซีพียูโอนย้ายข้อมูลจากบัฟเฟอร์ข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์
จากรูปแสดงการโอนย้ายข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสค์กับหน่วยความจำ การโอนย้ายข้อมูลข้างต้นอาจทำได้ 2 วิธี คือ ถ้าเป็นเครื่องรุ่น AT และ PS/2 ตัวซีพียูจะทำงานนั้นโดยตรงผ่านตัวมันไปหน่วยความจำ แต่ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าคือ PC และ XT การโอนย้ายข้อมูลจะกระทำผ่านชิพดีเอ็มเอ (DMA) ที่ย่อมาจาก Direct Memory Access โดยจะโอนย้ายข้อมูลจากบัฟเฟอร์ข้อมูลไปหน่วยความจำหลักไม่ต้องผ่านตัวซีพียูทั้งนี้เพราะตัวซีพียูเบอร์ 8088 ของเครื่องรุ่น XT หรือ PC ทำงานช้า ไม่ทันต่ออัตราความเร็วของการโอนย้ายข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ ข้อมูลที่โอนย้ายไปยังหน่วยความจำแรม จะเก็บในพื้นที่เรียกบัฟเฟอร์ของดอส ซึ่งหนึ่งบัฟเฟอร์จะเก็บข้อมูลจากดิสค์ได้ 1 เซกเตอร์ จำนวนบัฟเฟอร์นี้ผู้ใช้งานควรจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองจากคำสั่ง BUFFERS บรรจุในไฟล์ราว 20 บัฟเฟอร์ เมื่อเราอ่านข้อมูลไฟล์จากดิสค์ไปเก็บในบัฟเฟอร์ของดอส และบรรจุในบัฟเฟอร์จนเต็มครบหมด การโอนย้ายเซกเตอร์ต่อไปจะยึดตามหลักว่า บัฟเฟอร์ใดถูกเรียกใช้จากโปรแกรมใช้งานล่าสุดน้อยที่สุด (least recently accessed) ก็จะถูกแทนที่เขียนทับใหม่ ข้อมูลที่อยู่ในบัฟเฟอร์ดอสจะโอนย้ายไปยังหน่วยความจำอื่นตามความต้องการของโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน
การบันทึกข้อมูลบนดิสค์ ก็กระทำในลักษณะตรงกันข้ามกับการอ่านข้อมูล โดยโปรแกรมประยุกต์ใข้งานจะแจ้งตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการเขียนไปยังดอส ดอสก็จะโอนย้ายข้อมูลไปยังบัฟเฟอร์และส่งผ่านไปยังบัฟเฟอร์ข้อมูลบนการ์ดควบคุมดิสค์ วงจรบนการ์ดควบคุมดิสค์จะกำหนดแทร็กเซกเตอร์ และหน้าของดิสค์ที่ใช้บันทึก ส่งสัญญาณเพื่อเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ และโอนย้ายข้อมูลจากบัฟเฟอร์ไปเก็บบันทึกในดิสค์
การ์ดควบคุมฮาร์ดดิสค์
เนื่องจากฮาร์ดดิสค์ไม่สามารถทำงานเก็บข้อมูลเองได้ เราจำเป็นต้องมีการ์ดควบคุมมาบอกการทำงานประกอบด้วย ตามปกติการ์ดนี้จะใช้เสียบเข้าช่องสล้อตสำหรับการเพิ่มขยาย สัญญาณที่เข้าหรือออกจากฮาร์ดดิสค์จะต้องผ่านการ์ดควบคุมนี้ก่อนเสมอ การ์ดควบคุมแต่ละชุดจะมีวิธีการเข้ารหัสเฉพาะสำหรับช่องไดรฟ์ เราไม่สามารถนำการ์ดควบคุมอื่นที่ใช้วิธีการเข้ารหัสที่แตกต่างกันมาอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสค์ ฮาร์ดดิสค์นั้นจะต้องทำการฟอร์แมตใหม่จึงจะใช้งานกับการ์ดควบคุมนั้น ชนิดของการ์ดควบคุมที่นิยมใช้ในปัจจุบันขึ้นกับอินเตอร์รัฟต์ที่มีอยู่ 4 ชนิด คือ
1. ชนิด ST-506/41L
เป็นระบบควบคุมมาตราฐานเริ่มแรกที่ใช้กับเครื่องพีซี มีวิธีการเข้ารหัสแบบ MFM แล้วภายหลังจึงได้ขยายเป็นแบบ RLL และ ARLL ตามเทคโนโลยีของวัสดุที่ใช้ ข้อสังเกตประการหนึ่งที่บอกข้อแตกต่างของการเข้ารหัสแบบ MFM และ RLL คือการแบ่งเซกเตอร์ในแทร็ก ช่องไดรฟ์แบบ MFM จะใช้ 17 คลัสเตอร์ต่อแทร็ค และ ไดรฟ์แบบ RLL จะใช้ 26 คลัสเตอร์ต่อแทร็ค โดยแบบ RLL จะมีความจุได้มากกว่าราว 30% จะตรงกับฮาร์ดดิสค์ช่องไดรฟ์ขนาด 20 เมกะไบต์ของแบบ MFM
2. ชนิด ESDI (enhanced small device interfaues) เป็นระบบที่สูงขึ้นกว่าระบบมาตราฐาน ST-506 สำหรับไดรฟ์ความจุมากขึ้นและความเร็วสูงขึ้น นับเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใ่ช้กับเครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ 80286 และ 80386 ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงกว่า อัตราการโอนย้ายข้อมูลหรือการอ่านข้อมูลจากดิสค์จะเร็วกว่าดิสค์แบบ ST-506 ราว 4 เท่า โดยดิสค์แบบ ST-506 จะใช้กับเครื่องที่ช้ากว่า ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088 การ์ดควบคุมแบบ ESDI สามารถต่อฮาร์ดดิสค์ได้สองตัว
3. ชนิด SCSI (Small Computer System Interface) อ่านว่า "SCUZZY" เป็นการ์ดรุ่นใหม่ที่นิยมใช้กันมากขึ้น เพราะระบบนี้ไม่เพียงเป็นการ์ดควบคุมฮาร์ดดิสค์ยังเป็นการเชื่อมโยงบัสที่ชาญฉลาด(intelligent) ที่มีโปรเซสเซอร์อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ขนาดและอัตราการอ่านข้อมูลเทียบได้ใกล้เคียงกับ ESDI ระบบ SCSI นอกจากจะใช้เพื่อควบคุมฮาร์ดดิสค์ เรายังใช้เพื่อการควบคุมอุปกรณ์ต่อเสริมอื่น ๆ ได้ด้วยเช่น โมเด็ม, ซีดีรอม, สแกนเนอร์ และเครื่องพิมพ์ ระบบ SCSI ในหนึ่งการ์ดสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ถึง 8 ตัว โดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะถือเป็นอุปกรณ์ด้วย ดังนั้นจึงเหลือให้เราต่ออุปกรณ์ได้เพิ่มอีก 7 ตัว ภายใต้ดอส ระบบ SCSI จะให้เราใช้ฮาร์ดดิสค์ได้เพียง 2 ตัว(ตามการอ้างแอดเดรสของไบออส) ถ้าต้องการต่ออุปกรณ์อื่น ๆ เราต้องใช้ดีไวซ์ไดรเวอร์จากบริษัทอื่นมาทำการติดตั้งเสียก่อน
4. ระบบ IDE (Integrated Drive Electronics) ระบบนี้จัดเป็นระบบใหม่ที่มีขนาดความจุใกล้เคียงกับสองแบบที่กล่าวมาแล้วคือ ESDI และ SCSI แต่มีราคาต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมใช้บรรจุรวมอยู่ในแผงตัวควบคุม และเหลือสล้อตว่างให้ใช้งานอื่น ๆ ในระบบเก่าก็สามารถใช้ไดรฟ์แบบ IDE นี้ แต่เราต้องเพิ่มการ์ดการเชื่อมโยงเสียบสล้อต
คอมพิวเตอร์ที่เราเปิดใช้กัน กินไฟมากแค่ไหน
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ขนาดมาตาฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป กินไฟประมาณ 400-500 วัตต์ ตัวกินไฟในคอมพิวเตอร์มีอยู่ 2 ส่วนคือ จอมอนิเตอร์ กับ CPU ตัวกินไฟที่สุดคือ จอมอนิเตอร์ ซึ่ง ขนาดมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กันคือ ขนาด 15 นิ้ว กินไฟประมาณ 330 วัตต์ ถ้าขนาดใหญ่กว่านี้ก็กินไฟมากกว่านี้ ส่วน CPU กินไฟประมาณ 150 วัตต์โปรแกรม SCREEN SAVER ไม่ช่วยประหยัดค่าไฟ พนักงานส่วนใหญ่ชอบเปิดจอทิ้งไว้คิดว่าไม่เป็นไร เพราะคอมพิวเตอร์มี Screen Server คิดว่าพอ เราหยุดใช้งานคอมพิวเตอร์ไป 1-3 นาที จอภาพ เปลี่ยนเป็น Screen Server แล้วจอจะกินไฟน้อยลง ... จอยังกินไฟเท่าเดิมครับ คือยังกินไฟ 330 วัตต์ อยากจะประหยัดค่าไฟจำไว้เลยครับ ว่าผละจาก หน้าจอไม่ว่าไปไหน กินข้าว, ประชุม, เข้าห้องน้ำ หรือไปทำธุระเป็นเวลานานๆ ให้ กดสวิตซ์ปิดหน้าจอทุกครั้ง... ปิดแค่สวิตซ์จอมอนิเตอร์ โดยไม่ต้อง Shut down เครื่อง ลองมาคำนวณค่าไฟแบบคร่าวๆโดยสมมติว่า จอ Philipe 15” กินไฟ 180 วัตต์ (220V.0.8A) พนักงานOffice ทำงานเฉลี่ย 22 วันต่อเดือน ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = (180 x 8 x 22)/1000 = 31.68 KWh. คิดเป็นค่าใช้จ่าย = 31.68 x 2.83 = 90 บาท/เครื่อง/เดือน คอมพิวเตอร์ในบริษัทเฉพาะส่วน office มีประมาณ 500 เครื่องเป็นเงิน = 500 (90 = 45000 บาท/เดือน หรือ 540000 บาท/ปี (นี่เฉพาะค่าไฟฟ้าจากจอมอนิเตอร์นะครับ ยังไม่รวม CPU และ Printer) สมมติ ถ้าเราช่วยกัน ปิดจอมอนิเตอร์วันละ 1 ชั่วโมงในช่วงเวลาพักกลางวัน สามารถประหยัดเงินไปได้ = ((180 x 1 x22)/1000)x2.83 = 11.2บาทเครื่อง/เดือน ถ้า 500 เครื่องก็จะประหยัดเงินไปได้ = 500x 11.2 = 5600 บาท/เดือน หรือ 67200 บาท/ปี ......
Bluetooth คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร
BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกันอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย การทำงานของ Bluetooth? Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (กิ๊กกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่าเหมือนกัน ประโยชน์ของ Bluetooth? - คอมพิวเตอร์ กับ โทรศัพท์มือถือ หากเราต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ๊นเตอร์ คีย์บอร์ด เม้าท์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อมต่อทั้งหมด (Serial และ USB) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกทั้งในด้านการใช้สอย เคลื่อนย้าย และความเรียบร้อยต่างๆ แต่หากเครื่อง PC มีอุปกรณ์ Bluetooth ก็สามารถติอต่อเข้าหากันได้โดยใช้คลื่นแทนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด ทั้งการส่งไฟล์ภาพ, เสียง, ข้อมูล อีกทั้งระบบเชื่อมต่อผ่าน CSD และ GPRS บนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นด้วย แต่ข้อจำกัดการใช้งานก็มีเช่นกัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์ ต่อ 1 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องสลับการใช้งานกันบ่อยๆ (สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายซะส่วนใหญ่) แต่ก็ถือว่าให้ความสะดวกมากกว่าการใช้สายเคเบิ้ล โทรศัพท์มือถือ กับ ชุดหูฟัง (Smalltalk) ชุดหูฟัง หรือ Smalltalk อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้เกือบทุกคนต้องมีใช้กัน ซึ่งราคาเดี๋ยวนี้มีตั้งแต่ 30-300 บาท ในด้านการใช้งานบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ หากเป็นชุดหูฟังแบบมีสาย ข้อจำกัดจะอยู่ที่ เราไม่สามารถเคลื่อนตัวไปไหนได้ไกลกว่าที่สายจะยาวถึง แล้วก็ต้องคอยระวังสายไม่ให้ไปเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ บางทีอาจจะทำให้สายหลุดออกจากเครื่องด้วย แต่เมื่อนำ Bluetooth มาแทนที่การใช้งาน ก็น่าจะเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้มือทั้งสองข้างทำงานอย่างอื่นไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งในเวลาขับรถ (ตอนนี้กฎหมายก็มีออกมาแล้ว เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือบนรถ) ขณะออกกำลังกาย หรือ ขณะปฏิบัติกิจต่างๆ ก็สามารถขยับตัวไปไหนได้อย่างสะดวก แค่หยิบชุดหูฟังมาแนบหูแล้วเอาโทรศัพท์เหน็บเอว เท่านี้ก็คุยได้แล้ว จากประโยชน์ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี Bluetooth สามารถนำมาใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี และยังเพิ่มความสะดวกในการใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ และนอกเหนือจากที่กล่าวไป Bluetooth ยังถูกพัฒนามาใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย ทั้งหูฟังสเตอริโอ เครื่องเล่นซีดี รีโมทวิทยุ แม้กระทั่งในรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Bluetooth ไปใช้กันแล้ว ทั้งชุด Handsfree, หรือ รีโมทเปิด-ปิดประตู หรือระบบ Keyless แต่เราไม่ต้องกดปุ่มที่กุญแจอีกต่อไป เพียงแค่อยู่ในระยะการทำงาน ประตูก็จะเปิดล็อคให้ทันที ส่วนเวลาลงรถก็สามารถเดินตัวปลิวออกจากรถได้เลย เมื่อการเชื่อมต่อระหว่างตัวรถกับกุญแจขาดจากกัน ก็จะล็อคให้เองอัตโนมัติ (รถบางรุ่นเริ่มมีใช้กันแล้ว Mercedes-Benz SLR) บลูทูธในอนาคต? ปัจจุบัน การแทนที่สายเคเบิลด้วย Bluetooth อาจยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น ในด้านของราคาที่สูงกว่าแบบใช้สายเคเบิ้ลอยู่พอสมควร ดังนั้นหากอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี Bluetooth เหล่านี้ สามารถลดระดับราคาลง (แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยได้หลายๆด้าน) เทคโนโลยีบลูทูธ ก็น่าจะถูกนำมาใช้แทนที่การติดต่อสื่อสารแบบที่ใช้สายได้อย่างแพร่หลายค่อนข้างแน่นอนครับ ในอนาคตใกล้ Bluetooth จะกลายเป็นระบบไร้สายมาตรฐานบนเครื่องโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ PDA โน็ตบุ๊ก รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และจะทำให้ตลาดการสื่อสารเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะมีการค้นคิดวิจัยเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาสินค้า-บริการ รวมถึงการติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างน่าจะไปได้สวย ดังนั้น Bluetooth จึงเป็นเทคโนโลยีอนาคตที่น่าสนใจ และ น่าจับตามองที่สุดครับ......
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)