ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input) เริ่มด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านทางอุปกรณ์ Input ชนิดต่างๆ เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้คีย์บอร์ด เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือ ใช้เครื่องสแกนเนอร์ สแกนข้อมูลเข้าไป เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process) เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการประมวลผลกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ โดยการประมวลผลอาจจะมีได้หลายลักษณะ เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น และในส่วนของการประมวลผลจะทำการร่วมกันกับหน่วยความจำอีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประมวลผล
ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลข้อมูล(Output) เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงผ่านทางอุปกรณ์แสดงผลที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแสดงผ่านทางจอภาพ(Monitor) และยังสามารถแสดงผลด้วยการพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์(Printer)ก็ได้
วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551
ตั ด ห น้ า ม้ า ใ ห้ เ ท ร น ด์ ต า ม แ บ บ ลั ก ษ ณ ะ รู ป ห น้ า
ตอนนี้ใครๆก็หันมาตัดหน้าม้ากันทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นม้าเต๋อ ม้าเป๋ ม้าปาด บลาๆๆๆแต่ว่าการตัดหน้าม้ามันต้องดูลักษณะใบหน้า (และเหม่ง) ของเราประกอบด้วยเพื่อให้ออกมาสวย ดูดี และเก๋ไก๋
แบบแรก
A. Baby Bangs สาวเปรี้ยวก๋ากั่นต้องไม่พลาดผมหน้าม้าเต่อเด็ดขาด โดยเฉพาะสาวที่มีหน้าผากแคบและผมเส้นเล็ก แต่ถ้ามีผมหนาจะให้ช่างซอยให้บางลงก็ช่วยได้ ขอแนะนำว่าเหมาะมากๆสำหรับสาวหน้ารูปไข่ แต่สำหรับสาวหน้ากลมหรือหน้าเหลี่ยมก็ไม่ต้องเสียใจ ลองตัดให้เต่อเหนือคิ้วเล็กน้อย แล้วซอยผมหน้าให้บางลงและไล่ปลายผมให้ต่างระดับกัน จากนั้นตัดผมด้านข้างให้อยู่ในระดับคาง เพื่อให้บังช่วงแก้มช่วยให้หน้าดูเรียวขึ้นได้ไม่น้อย
B. Straight Bangs ผมหน้าม้าตัดตรงแบบออริจินัล นอกจากเหมาะกับหน้ารูปไข่แล้ว ยังเหมาะกับรูปหน้ายาวอีกด้วย เพราะช่วยอำพรางความยาวของใบหน้าให้ดูสั้นลง ฉะนั้นสาวหน้าสั้นควรหลีกทรงนี้ให้ไกล ไม่อย่างนั้นหน้าจะยิ่งสั้นและกลมไปกันใหญ่ ที่สำคัญต้องหมั่นไดร์ให้ตรง อย่าให้ผมกระดกปลายให้เสียรูปทรงเป็นอันขาด
C. Side Swept Bangs มาแล้วทรงผมช่วยชีวิตของคนหน้ากลมและหน้าเหลี่ยม เพราะผมหน้าม้าปัดข้างช่วยให้หน้าผากที่ไม่ได้ส่วนดูได้รูปยิ่งขึ้น แถมไม่ทำให้หน้าสั้นอีกด้วย นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับคนที่มีหน้าผากกว้างแบบหน้ารูปหัวใจ จะช่วยอำพรางช่วงหน้าผากได้ดี สำหรับทรงนี้ไม่จำเป็นต้องซอยผมให้บางลงก็ได้ แต่ควรซอยไล่ให้ผมเป็นแนวเฉียงลงไปหาด้านข้าง
Take care your Bangs
1. หมั่นเล็มผมหน้าม้าให้ได้รูปทรงและระดับอยู่เสมอ
2. สำหรับม้าปัดข้าง อาจต้องใช้แว็กซ์หรือสเปรย์(แบบอยู่ทรงเป็นธรรมชาติ)เพื่อให้ผมอยู่ทรงและไม่ชี้ฟู
3. ดูแลผมหน้าม้าให้พริ้วสลวยด้วยลีฟอินหรือสเปรย์บำรุงเส้นผม แต่ไม่ควรใส่เยอะจนผมเปียกแนบกับหน้าผากเหมือนคนไม่ได้สระผมนะ
ที่มา
Beauty Hairstyle No.606 (1 MAY 2008
ตัวอะไรกันนี่ ?
รู้จักกับสัตว์รักษาโรค "วาฬหลังค่อม ปลิงทะเล และสาหร่ายสีแดงออสเตรเลีย
วาฬหลังค่อม ปลิงทะเล และสาหร่ายสีแดงออสเตรเลีย เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่ชนิดที่ใช้ศึกษาในการแพทย์สมัยใหม่
อย่างวาฬหลังค่อมนั้น มีระบบหัวใจที่น่าศึกษามาก เพราะหัวใจ 1 ดวงสามารถปั๊มเลือดเข้าไปได้ถึง 6 ห้อง เป็นเลือดที่มากกว่าที่หัวใจมนุษย์ปั๊มถึง 4,500 เท่า ทั้งๆ ที่ 1 นาทีหัวใจของวาฬหลังค่อมเต้นแค่ 3 ครั้งเท่านั้น และสามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาเครื่องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจหรือเพซเมกเกอร์ให้ดีขึ้น
ส่วนปลิงทะเลที่ผิวหนังสามารถเปลี่ยนจากแข็งเป็นอ่อนนุ่มได้ ก็สามารถนำมาปรับใช้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะเมื่อเครื่องมืออิเล็กโทรดที่ฝังไว้ในศีรษะของผู้ป่วยนานๆ ต่อไปอาจมีเนื้อเยื่อหรือพังผืดมาเกาะบริเวณที่ฝังเครื่องลงไป ทำให้เครื่องมีความแข็งขึ้น การศึกษาปลิงทะเลจึงอาจปรับมาใช้ในการผลิตเครื่องมือที่ทำให้เครื่องอ่อนนุ่ม เหมาะกับอยู่ในสมองที่บอบบางเป็นเวลานานๆ
สำหรับสาหร่ายสีแดงออสเตรเลียนั้น อาจทำให้เราควบคุมโรคหลายโรคได้ จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย พบว่า สาหร่ายสีแดงออสเตรเลียไม่มี "ไบโอฟิล์ม" ซึ่ง "ไบโอฟิล์ม" เป็นแหล่งรวมของแบคทีเรีย ต้นเหตุของโรคในมนุษย์ถึง 70% และถ้าสามารถหาสารประกอบที่ป้องกันการเกิดไบโอฟิล์มในสาหร่ายได้ ก็อาจจะป้องกันโรคได้ เช่น โรคอหิวาตกโรค
นายกุนเธอร์ พอลลี ผู้บริหารองค์กร Zero Emissions Research & Initiatives (ZERI) กล่าวว่า "เราควรจะนำธรรมชาติเข้ามาใช้ในการรักษาโรค เช่น แบคทีเรียนั้นแทนที่เราจะฆ่ามัน ก็ทำให้มันไม่ทำงานเสีย นี่คือการรักษาโรคโดยใช้วิธีใหม่ๆ"
หมุนก่อนโลก นสพ.ข่าวสด
ปลาสิงโตสีแดงแพร่พันธุ์
ปลาสิงโตสีแดง หรือ Red lion fish เป็นปลามีพิษอยู่ตรงก้านแข็งของครีบ ถ้าโดนต่อยเข้าจะปวดมากๆ แต่ไม่ทำให้ถึงตาย ซึ่งปลาชนิดนี้นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลรายงานว่า แพร่พันธุ์แถบทะเลแคริบเบียนมากจนน่าตกใจ พวกมันกินปลาเล็กๆ หลากหลายพันธุ์จนอาจทำลายระบบนิเวศ และยังอาจทำลายอุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
นักวิชาการเชื่อว่า ปลาสิงโตสีแดงเริ่มแพร่พันธุ์ในทะเลแคริบเบียนตั้งแต่พ.ศ.2535 เมื่อเฮอริเคนแอนดรูว์สร้างความเสียหายในรัฐฟลอริดา ทำให้ปลาสิงโตสีแดงในอะควาเรียมเอกชน หลุดรอดลงไปในอ่าวบิส เคย์นของไมอามี่ โดยปลานั้นวางไข่ที่กระแสน้ำในอ่าว ไปจนถึงชายฝั่งทะเลด้านเหนือ ทำให้พวกมันแพร่พันธุ์ตั้งแต่เบอร์มิวดาจนถึงรัฐนอร์ทแคโรไลนา
นายมาร์ก ฮิกซัน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางทะเล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน กล่าวว่า "ภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที ปลาสิงโตสีแดงกินลูกปลาถึง 20 กว่าตัว มันเป็นผู้บุกรุกทางทะเลที่ร้ายกาจ และอาจไม่มีทางหยุดยั้งมันได้เลย"
จากการสำรวจพบว่า ปลาสิงโตสีแดงรวมตัวกันมากแถบบาฮามาส ทั้งบริเวณท่าเรือ ชายหาด ปะการังน้ำตื้น ปะการังน้ำลึก โดยเฉพาะตามป่าชายเลน ซึ่งเป็นที่วางไข่และเป็นที่อยู่ของลูกปลา
ส่วนบริเวณนิวโพรวิเดนซ์และหมู่เกาะเบอรี่พบปลาสิงโตสีแดงเพิ่มถึง 10 เท่า ภายในเวลาแค่ 1 ปี ขณะที่หมู่เกาะทางตอนเหนือของทะเลแคริบเบียนเริ่มตระหนักถึงอันตราย จึงขอให้ชาวประมงช่วยจับปลา ไม่อย่างนั้นอาจเกิดหายนะต่ออุตสาหกรรมประมง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ไปว่ายน้ำ ดำน้ำอาจได้รับอันตราย
นายยูเจนิโอ พีเนโร-โซเลอร์ เจ้าหน้าที่สมาคมประมงแคริบเบียน มีความเห็นว่า "การรุกรานของปลาสิงโตสีแดงกระทบต่อปลาที่อยู่ตามปะการังมากที่สุด อาจทำให้ปลาเหล่านั้นถึงกับหมดไปได้"
ส่วนหนทางกำจัดนั้นมีทั้งการทดลองโดยให้ปลาฉลาม ปลาไหลมอเรย์ หรือแม้แต่ทำอาหารให้คนกิน ผู้ที่ชอบเปิบอาหารแปลกๆ เห็นว่ารสชาติของปลาสิงโตอร่อยเหมือนกับปลาฮาลิบัต แต่ก็ยังไม่มีผู้นิยมรับประทาน แม้แต่ปลาฉลามเมื่อเห็นว่าอาหารของมันเป็นปลาสิงโต มันยังว่ายน้ำหนี ปลาไหลมอเรย์ก็ไม่ยอมกิน ส่วนปลาชนิดเดียวที่ยอมกินคือปลากรุ๊ปเปอร์ ซึ่งเป็นปลาที่หายากในบริเวณนี้
ที่มา นสพ.ข่าวสด
นักวิชาการเชื่อว่า ปลาสิงโตสีแดงเริ่มแพร่พันธุ์ในทะเลแคริบเบียนตั้งแต่พ.ศ.2535 เมื่อเฮอริเคนแอนดรูว์สร้างความเสียหายในรัฐฟลอริดา ทำให้ปลาสิงโตสีแดงในอะควาเรียมเอกชน หลุดรอดลงไปในอ่าวบิส เคย์นของไมอามี่ โดยปลานั้นวางไข่ที่กระแสน้ำในอ่าว ไปจนถึงชายฝั่งทะเลด้านเหนือ ทำให้พวกมันแพร่พันธุ์ตั้งแต่เบอร์มิวดาจนถึงรัฐนอร์ทแคโรไลนา
นายมาร์ก ฮิกซัน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศทางทะเล จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน กล่าวว่า "ภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที ปลาสิงโตสีแดงกินลูกปลาถึง 20 กว่าตัว มันเป็นผู้บุกรุกทางทะเลที่ร้ายกาจ และอาจไม่มีทางหยุดยั้งมันได้เลย"
จากการสำรวจพบว่า ปลาสิงโตสีแดงรวมตัวกันมากแถบบาฮามาส ทั้งบริเวณท่าเรือ ชายหาด ปะการังน้ำตื้น ปะการังน้ำลึก โดยเฉพาะตามป่าชายเลน ซึ่งเป็นที่วางไข่และเป็นที่อยู่ของลูกปลา
ส่วนบริเวณนิวโพรวิเดนซ์และหมู่เกาะเบอรี่พบปลาสิงโตสีแดงเพิ่มถึง 10 เท่า ภายในเวลาแค่ 1 ปี ขณะที่หมู่เกาะทางตอนเหนือของทะเลแคริบเบียนเริ่มตระหนักถึงอันตราย จึงขอให้ชาวประมงช่วยจับปลา ไม่อย่างนั้นอาจเกิดหายนะต่ออุตสาหกรรมประมง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ไปว่ายน้ำ ดำน้ำอาจได้รับอันตราย
นายยูเจนิโอ พีเนโร-โซเลอร์ เจ้าหน้าที่สมาคมประมงแคริบเบียน มีความเห็นว่า "การรุกรานของปลาสิงโตสีแดงกระทบต่อปลาที่อยู่ตามปะการังมากที่สุด อาจทำให้ปลาเหล่านั้นถึงกับหมดไปได้"
ส่วนหนทางกำจัดนั้นมีทั้งการทดลองโดยให้ปลาฉลาม ปลาไหลมอเรย์ หรือแม้แต่ทำอาหารให้คนกิน ผู้ที่ชอบเปิบอาหารแปลกๆ เห็นว่ารสชาติของปลาสิงโตอร่อยเหมือนกับปลาฮาลิบัต แต่ก็ยังไม่มีผู้นิยมรับประทาน แม้แต่ปลาฉลามเมื่อเห็นว่าอาหารของมันเป็นปลาสิงโต มันยังว่ายน้ำหนี ปลาไหลมอเรย์ก็ไม่ยอมกิน ส่วนปลาชนิดเดียวที่ยอมกินคือปลากรุ๊ปเปอร์ ซึ่งเป็นปลาที่หายากในบริเวณนี้
ที่มา นสพ.ข่าวสด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)