วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551
คอมพิวเตอร์ที่เราเปิดใช้กัน กินไฟมากแค่ไหน
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ขนาดมาตาฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป กินไฟประมาณ 400-500 วัตต์ ตัวกินไฟในคอมพิวเตอร์มีอยู่ 2 ส่วนคือ จอมอนิเตอร์ กับ CPU ตัวกินไฟที่สุดคือ จอมอนิเตอร์ ซึ่ง ขนาดมาตรฐานทั่วไปที่ใช้กันคือ ขนาด 15 นิ้ว กินไฟประมาณ 330 วัตต์ ถ้าขนาดใหญ่กว่านี้ก็กินไฟมากกว่านี้ ส่วน CPU กินไฟประมาณ 150 วัตต์โปรแกรม SCREEN SAVER ไม่ช่วยประหยัดค่าไฟ พนักงานส่วนใหญ่ชอบเปิดจอทิ้งไว้คิดว่าไม่เป็นไร เพราะคอมพิวเตอร์มี Screen Server คิดว่าพอ เราหยุดใช้งานคอมพิวเตอร์ไป 1-3 นาที จอภาพ เปลี่ยนเป็น Screen Server แล้วจอจะกินไฟน้อยลง ... จอยังกินไฟเท่าเดิมครับ คือยังกินไฟ 330 วัตต์ อยากจะประหยัดค่าไฟจำไว้เลยครับ ว่าผละจาก หน้าจอไม่ว่าไปไหน กินข้าว, ประชุม, เข้าห้องน้ำ หรือไปทำธุระเป็นเวลานานๆ ให้ กดสวิตซ์ปิดหน้าจอทุกครั้ง... ปิดแค่สวิตซ์จอมอนิเตอร์ โดยไม่ต้อง Shut down เครื่อง ลองมาคำนวณค่าไฟแบบคร่าวๆโดยสมมติว่า จอ Philipe 15” กินไฟ 180 วัตต์ (220V.0.8A) พนักงานOffice ทำงานเฉลี่ย 22 วันต่อเดือน ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = (180 x 8 x 22)/1000 = 31.68 KWh. คิดเป็นค่าใช้จ่าย = 31.68 x 2.83 = 90 บาท/เครื่อง/เดือน คอมพิวเตอร์ในบริษัทเฉพาะส่วน office มีประมาณ 500 เครื่องเป็นเงิน = 500 (90 = 45000 บาท/เดือน หรือ 540000 บาท/ปี (นี่เฉพาะค่าไฟฟ้าจากจอมอนิเตอร์นะครับ ยังไม่รวม CPU และ Printer) สมมติ ถ้าเราช่วยกัน ปิดจอมอนิเตอร์วันละ 1 ชั่วโมงในช่วงเวลาพักกลางวัน สามารถประหยัดเงินไปได้ = ((180 x 1 x22)/1000)x2.83 = 11.2บาทเครื่อง/เดือน ถ้า 500 เครื่องก็จะประหยัดเงินไปได้ = 500x 11.2 = 5600 บาท/เดือน หรือ 67200 บาท/ปี ......
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น